Web
                        Analytics
สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 02/09/2019

สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 02/09/2019

03 Sep 2019   |    981


Global Economy

1 ก.ย. สหรัฐเริ่มบังคับใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้า 15% สำหรับสินค้าจีนมูลค่า 112,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่วนใหญ่เป็นประเภทผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น อุปกรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า และรองเท้า

1 ก.ย. กระทรวงพาณิชย์ของจีนบังคับใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้า 5% สำหรับสินค้าสหรัฐมูลค่า 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 5,078 รายการ สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร รวมถึงถั่วเหลืองและเนื้อสัตว์แช่แข็ง โดยเก็บภาษีถ่วเหลืองเพิ่มอีก 5% จากเดิมที่ 25% และสินค้าเนื้อหมู วัว ไก่ จาก 15% เป็น 25% และขึ้นภาษี 15% เริ่มวันที่ 15 ธ.ค. 2562

ดัชนีค่าเงินปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐโดยเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น ในขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน

29 ส.ค. ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐ ปรับลดประมาณ 10 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 427.8 ล้านบาร์เรล เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบนำเข้าของสหรัฐ ปรับลดสู่ระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ในขณะที่วันที่ 2 ก.ย.นี้ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงหลังตลาดกังวลเกี่ยวกับพายุเฮอร์ริเคนโดเรียน (Dorian) ที่จะเคลื่อนเข้าชายฝั่งรัฐฟลอริดา สหรัฐและประเมินจะทวีความรุนแรงเป็นเฮอร์ริเคนระดับ 4 ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมัน เนื่องจากฟลอริดามีจำนวนประชากรอาศัยอยู่จำนวนมากและเป็นแหล่งท้องเที่ยวที่สำคัญของสหรัฐ

ดัชนีค่าระวางเรือ BDI (Baltic Dry Index) ปรับตัวขึ้นอย่างสูงและรวดเร็ว

Thailand Economy

ตัวเลขการส่งออกไทย เดือน ก.ค. ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือนที่ 4.3% YoY แต่หากไม่รวมการส่งออกทองคำ การส่งออกหดตัว -0.4% และนับตั้งแต่ต้นปี หดตัว -1.9%

ตัวเลขการนำเข้าเดือน ก.ค. ขยายตัว 1.7% แต่นับตั้งแต่ต้นปี หดตัว -1.8%

ครม.อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 316,000 ล้านบาท

- มาตรการบรรเท่าค่าครองชีพ (1) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รับเงินเพิ่มอีก 2 เดือน (ส.ค. - ก.ย. 62) ผู้ถือบัตรทั่วไปได้รับเพิ่ม 500 บาท/เดือน (2) พักชำระหนี้ส่วนเงินต้นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนของธนาคารออมสินและ ธกส. 1 ปี แต่ยังคงจ่ายดอกเบี้ย

- มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง (1) ลดดอกเบี้ยเงินกู้สืนเชื่อจาก ธกส. 0.1% ต่อปี วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี พร้อมขยายระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้ 2 ปี (2) ธกส. จัดเตรียม สินเชื่อฉุกเฉิน วงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน ปลอดดอกเบี้ย ปีแรก และสินเชื่อฟื้นฟูความเสียหายจากภัยแล้ง วงเงินไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน

- มาตรการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ช่วยค่าปลูกข้าวไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ สำหรับปีการผลิต 2562/2563

- มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ แจกเงินสำหรับท่องเที่ยวผ่าน Application "เป๋าตัง" ช่วง 27 ก.ย. - 30 พ.ย. 62 (1) ผู้ลงทะเบียน 10 ล้านคนแรก รับเงิน 1,000 บาทต่อคน (2) ผู้ลงทะเบียนรับเงิน Cash back 15% ของยอดชำระเงินจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,500 บาทสำหรับค่าใช้จ่ายอาหาร เครื่องดื่ม ที่พักและการซื้อสินค้าท้องถิ่น

- สำหรับมาตรการการกระตุ้นการท่องเที่ยว ทางเรามองผลทางบวกในระยะยาว 2 ด้านเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้ Application "เป๋าตังค์" (1) เป็นการนำร้านค้าและโรงแรมเข้าสู่ระบบ ภาครัฐสามารถเข้าดูแลและสร้างฐานข้อมูล (2) สร้างฐานข้อมูลของประชาชนเกี่ยวกับการใช้จ่ายการท่องเที่ยว รวมถึงการอาจรวมการใช้จ่ายด้านอื่นๆในอนาคต (3) เป็นการสร้างเครื่องมือเชิงนโยบายของภาครัฐใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เฉพาะกลุ่ม ในอนาคต


Share this article: