Web
                        Analytics
สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 15/10/2019

สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 15/10/2019

15 Oct 2019   |    901


Global Economy

[FED] ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ชี้แจงว่าการเข้าซื้อพันธบัตรสหรัฐล่าสุด ไม่ใช่การ QE แต่เป็นการเสริมสภาพคล่องให้ตลาดเงินซึ่งขาดสภาพคล่องในช่วงก่อนหน้า และส่งสัญญาณมีโอกาสลดดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนนี้ (29-30 ต.ค.)

[Trade war] ประธานาธิบดีทรัมป์กำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีน 8 บริษัทขึ้น Blacklist ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้บริษัทที่ถูก Balcklist รวมถึงบริษัท Hangzhou Hikvision Digital Technology Co.และ Zhejiang Dahua Technology Co ซึ่งเป็นผู้ผลิตกล้องวงจรปิดรายใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 1 ใน 3 ของโลก, บริษัท SenseTime Group Ltd. และ Megvii เป็น AI startup ที่มีมูลค่าตลาดของบริษัทที่สูง ซึ่งคำสั่งดังกล่าว ตลาดมองว่าเป็นผลลบต่อการเจรจาการค้ารอบล่าสุด

[Trade war] 10 ต.ค. ผู้นำคณะเจรจาการค้าของจีน รองนายกรัฐมนตรี นายหลิว เหอ เข้าเจรจาการค้ากับทางสหรัฐ รวมถึงพบนางคริสตาลินา จอร์จีวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) โดยการเจรจาการค้าเป็นไปด้วยดี

[Trade war] หนึ่งในประเด็นที่ต้องจับตาในครั้งนี้คือ การเจรจาตกลงด้านค่าเงิน หรือ currency pact ซึ่งได้เคยมีข้อตกลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 แต่ล้มเหลวในเดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งทางสหรัฐกล่าวหาว่าทางการจีนไม่ทำตามข้อตกลงดังกล่าว และในเดือนพฤศจิกายน สหรัฐขึ้นบัญชีให้จีนเป็นประทศที่มีการบิดเบือนค่าเงิน หรือเป็น "Currency manipulator" ทั้งนี้ การบิดเบือนค่าเงินหยวนให้อ่อนค่า เป็นหนึ่งในเครื่องมือของจีนที่ใช้ในการลดราคาสินค้าส่งออกโดยเปรียบเทียบ เพื่อลดผลกระทบจากการขึ้นภาษีโดยสหรัฐซึ่งเป็นการขึ้นราคาสินค้าโดยเปรียบเทียบ

[Trade war] 11 ต.ค. การดำเนินการเจรจาการค้าเป็นไปได้ด้วยดี โดยทางประธานาธิบดีสหรัฐได้ระบุว่า บรรลุข้อตกลง 1. จีนจะซื้อสินค้าเกษตรของสหรัฐไปอีก 2 ปี 2. บรรลุข้อตกลงในประเด็นการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา 3. บรรลุข้อตกลงให้จีนเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น 4. บรรลุข้อตกลงให้จีนยกเลิกการควบคุมค่าเงินหยวน โดยทั้งหมดนี้แลกกับการยกเลิกเส้นตายที่ทางสหรัฐจะตัดสินใจขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน จาก 25% เป็น 30% สำหรับสินค้าที่เคยขึ้นภาษีมาก่อนหน้ามูลค่ารวม 2.5 แสนล้านดอลลาร์ในวันที่ 15 ต.ค. 

แต่ทั้งนี้ทางจีนยังไม่ออกมายืนยันสิ่งที่ทางประธานาธิบดีทรัมป์ระบุไว้ พร้อมทั้งต้องการเจรจาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อตกลงเจรจาการค้า โดยค่าเงินหยวนยังไม่มีการปรับเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น

[Stock index] ภายหลังบรรลุข้อตกลงการเจรจาสงบศึกสงครามการค้าระยะสั้น ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกตอบสนอง และปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนี S&P ยังไม่สามารถทะลุผ่านแนวต้านที่ 3000 จุดได้

Thailand Economy

ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (ธ.ค. 62) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 111.62 เพิ่มขึ้น 8.64% อยู่ในเกณฑ์ทรงตัว

ดัชนี PMI ภาคการผลิต ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 50.60 ในเดือนกันยายน ภายหลังปรับตัวลดลง 5 เดือนต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พร้อมบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่ (TFRS 9) วันที่ 1 ม.ค. 2020 (2563) ซึ่งส่งผลบวกต่อการดำเนินการของธนาคารและเศรษฐกิจไทย เนื่องจากกฎระเบียบใหม่จะเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับธนาคาร ทำให้ธนาคารสามารถเข้าช่วยเหลือผู้ประกอบการได้อย่างรวดเร็วผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้โดยที่หนี้นั้นยังไม่ต้องเป็น NPL พร้อมกระบวนการกลับหนี้ NPL เข้าสู่หนี้ปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดภาระการตั้งสำรองของธนาคาร และชะลอการเกิด NPL ในระบบเศรษฐกิจ

กรอบการลงทุน

ดัชนี SET ณ สิ้นวันศุกร์ อยู่ที่ระดับ 1643.76 จุด จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1626.00 

จุด ปรับตัว -1.08% ยังคงยืนเหนือแนวรับสำคัญที่ 1600 และตอบรับข่าวดีความคืบหน้าการเจรจาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน

แนวต้านระยะสั้น คือ 1750,1716,1677,1650, 1620 แนวรับระยะสั้นคือ 1600, 1570 (กรอบ Correction)

ในระยะกลาง แนวรับสำคัญมากคือ 1570+-10, และแนวต้านที่ 1770

ปัจจัยที่กดดันดัชนีตลาดหุ้นไทยในระยะสั่นคือ ดีล IPO ขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอันใกล้ในช่วงข้างหน้า ได้แก่ AWC, CRC (Central Retail Corporation) ซึ่งเป็นการกระจายเงินลงทุนสู่หลักทรัพย์ IPO

ประเมินตลาด sideway ในกรอบกว้าง เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมทั่วโลกส่งสัญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน แต่ชดเชยด้วยรัฐบาลไทยมีมาตรการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อชะลอการถดถอยของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องระมัดระวังปัจจัยความเสี่ยง crisis ที่อาจพัฒนาขึ้นได้ โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจมีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่ตลาดจะปรับตัวลงทะลุแนวรับ 1600 มีโอกาสสูงขึ้นจาก 1. ภาวะดัชนีราคาตลาดหุ้นทำฟอร์มกรอบสามเหลี่ยม มี 2. มีโอกาสที่ S&P index จะปรับตัวลง ในกรณีที่ไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ 3000 จุดได้


Share this article: