Web
                        Analytics
สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 21/10/2019

สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 21/10/2019

21 Oct 2019   |    950


Global Economy

[Brexit] ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดให้ความสนใจกับประเด็น Brexit เป็นหลัก โดยในวันที่ 15 ต.ค. ทางสหราชณาจักร (U.K.) สามารถบรรลุข้อตกลงการเจรจากับทางสหภาพยุโรป (EU) ในการออกจาการเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปได้ เป็นประเด็นบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลก แต่ทางนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษนาย บอริช จอห์นสัน ยังต้องนำประเด็นดังกล่าวไปหารือเผื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของทางสหราชอาณาจักรเอง ซึ่งการหารือดังกล่าว ในวันที่ 19 ต.ค. มีความผิดหวังที่ไม่ได้รับความเป็นชอบในทันทีและให้เลื่อนการพิจารณาแผนการออกจากยุโรปที่บรรลุการเจรจาไปก่อนหน้า โดยมีความเห็น 322 เสียงให้เลื่อนออกไปต่อ 306 เสียงเป็นวันที่ 31 ต.ค. 62

[Brexit] แม้ว่าการไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่นักกลยุทธ์ตลาดค่าเงินจากโตรอนโตโดมิเนียนแบง (Toronto Dominian Bank) ให้ความเห็นว่า แม้จะไม่ผ่านร่าง แต่ภาพรวมการเจรจายังเป็นเชิงบวก เนื่องจากความเสี่ยงที่จะเกิด No-Deal Brexit หรือการออกจากยุโรปโดยไม่มีข้อตกลงนั้น ลดลงไปอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่ง No-Deal Brexit ถือเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าวซึ่งแต่เดิมมีเส้นตายวันที่ 31 ต.ค. 62

[Brexit] นายกรัฐมนตรี นายบอริช จอห์นสัน กำหนดการยื่นขอผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับ Brexit อีกครั้งในวันที่ 31 ต.ค. 62 นี้

[Trade war] การเจรจาการค้าเฟส 1 ในหัวข้อการซื้อสินค้าเกษตร, การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา, บริการด้านการเงิน และ ประเด็นสกุลเงิน กำลังดำเนินไปด้วยดี และมีการคาดการณ์ว่า จะมีการลงนามข้อตกลงเฟส 1 ในช่วงวีนที่ 16-17 พ.ย. ซึ่งเป็นวันประชุม APEC

[Trade war] สำหรับการเจรจาการค้า เฟส 2 จะมีหัวข้อ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายโอนความรู้ของบริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาทำธุรกิจในจีน

Thailand Economy

คาดการณ์วันที่ 24 ตุลาคม 2562 จะมีการลงนามในสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพีเอช) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นการก่อสร้างของหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางพารา ระยะที่ 1 วงเงิน 24,000 ล้านบาท โดยครอบคลุมเกษตรกรชาวสวนยาง 1.4 ล้านคน พื้นที่ปลูกยางพารา 17 ล้านไร่ ได้มีรายได้ที่แน่นอนโดยกำหนดราคาประกันยาง 3 ชนิด คือ 1. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคา กก.ละ 60 บาท 2. น้ำยางสด (DRC 100%) ราคา กก.ละ 57 บาท และ 3. ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา กก.ละ 23 บาท โดยจะดำเนินการเป็นเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่ ต.ค. 2562 ถึง มี.ค. 2563

พร้อมเห็นชอบมาตรการเสริม 4 โครงการแก่ชาวสวนยาง ได้แก่ 1) ขยายวงเงินสินเชื่อโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง 2) ขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยางแห้ง 3) ขยายระยะเวลาโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อให้ช่วยรวบรวมยาง 4) ขยายระยะเวลาและปรับปรุงวิธีการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ 1 ล้านตัน ออกไปอีก 3 ปี

กรอบการลงทุน

ดัชนี SET ณ สิ้นวันศุกร์ อยู่ที่ระดับ 1631.43 จุด จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1626.00 

จุด ปรับตัว +0.33% ยังคงยืนเหนือแนวรับสำคัญที่ 1600

แนวต้านระยะสั้น คือ 1750,1716,1677,1650 แนวรับระยะสั้นคือ 1620, 1600, 1570 (กรอบ Correction)

ในระยะกลาง แนวรับสำคัญมากคือ 1570+-10, และแนวต้านที่ 1770

ปัจจัยที่หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยในระยะสั่นคือ การปรับตัวของหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่นำตลาดและพยุงตลาดไว้ จึงแนะนำให้สังเกตการเคลื่อนไหวของหุ้นกลุ่มนี้เป็นหลักในช่วงที่มีการกลับตัวของกลุ่ม อาจนำไปสู่ Major correction ของดัชนีได้ หากไม่มีกลึ่มอุตสาหกรรมอื่นที่เข้ามาหนุนเพิ่มเติม

ประเมินตลาด sideway ในกรอบกว้าง เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมทั่วโลกส่งสัญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน แต่ชดเชยด้วยรัฐบาลไทยมีมาตรการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อชะลอการถดถอยของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องระมัดระวังปัจจัยความเสี่ยง crisis ที่อาจพัฒนาขึ้นได้ โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจมีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่ตลาดจะปรับตัวลงทะลุแนวรับ 1600 มีโอกาสสูงขึ้นจาก 1. ภาวะดัชนีราคาตลาดหุ้นทำฟอร์มกรอบสามเหลี่ยม มี 2. มีโอกาสที่ S&P index จะปรับตัวลง ในกรณีที่ไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ 3000 จุดได้


Share this article: