Web
                        Analytics
สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 23/09/2019

สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 23/09/2019

23 Sep 2019   |    975


Global Economy

[FED] 17 ก.ย. ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED เข้าแทรกแซงตลาดเงิน ภายหลังมองว่าตลาดเงินขาดสภาพคล่อง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 1 วันหรือดอกเบี้ยนโยบาย ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 2.14% เป็น 2.25% ส่งผลต่อต้นทุนโดยรวมของระบบการเงิน

[FED] สาเหตุของการขาดสภาพคล่องเกิดจากปัจจัยทางเทคนิค คือ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ธนาคารกลางทำการลดขนาดการถือครองทรัพย์สิน โดยปล่อยให้ตราสารที่ถือไว้ทยอยหมดอายุ และเมื่อไม่มีการซื้อพันธบัตรใหม่เข้า หมายถึง ไม่มีเงินเข้าหมุนเวียนในระบบการเงิน ส่งผลเม็ดเงินออกจากระบบการเงินโดยนัย

[FED] FED มีความจำเป็นต้องเข้าแทรกแซง เนื่องจากกำหนดกรอบดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.00-2.25% ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ขอบบนของกรอบดอกเบี้ย จึงมีความจำเป็นต้องแทรกแซงเพื่อควบคุมกรอบดอกเบี้ย

[FED] ทั้งนี้ ตลาดมองว่า FED กำลังสูญเสียความสามารถในการควบคุมอัตราดอกเบี้ยและการกู้ยืมระยะสั้น หนึ่งในเครื่องมือการเงินของ FED

[FED] 19 ก.ย. FED ประกาศลดดอกเบี้ย 25 basis point จาก 2.00-2.25% เป็น 1.75-2.00% โดยครั้งนี้ทางคุณพาเวลส่งสัญญาณว่าลดดอกเบี้ยเพียงพอแล้วสำหรับการรองรับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน แต่ส่งสัญญาณเปิดช่องในการลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มได้อีก โดยตลาดมองว่า มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดดอกดเบี้ยอีกครั้งในเดือนธันวาคม 62

[Monetary Policy] ในขณะที่ธนาคารกลางฮ่องกงปรับลดดอกเบี้ยตามธนาคารกลางสหรัฐหลังจากประกาศ 1 ชม. ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารกลางอังกฤษคงดอกเบี้ยนโยบาย

[China] จีนประกาศยกเลิกการจำกัดโควตาการลงทุนของนักลงทุนสถาบันต่างชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสม Qualified Foreign Institutional Investor (QFII) และโครงการนักลงทุนสถาบันต่างชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการใช้สกุลเงินหยวน (RQFII) เพื่อเปิดตลาด และปฏิรูปตลาดการเงินของจีน การยกเลิกการจำกัดโควตานี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ (A-share) ได้มากขึ้น

Thailand Economy

สถานการณ์ตลาดรถยนต์ในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา เป็นเดือนที่มียอดจำหน่ายรถยนต์ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 80,838 คัน ลดลง 6.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ภาพรวมตลาดรถยนต์ในช่วง 8 เดือนแรกมียอดจำหน่ายรถสะสมที่ 685,652 คัน เพิ่มขึ้น 4.2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ตัวเลขการส่งออกเดือน ส.ค. กลับมาหดตัวอยู่ที่ -4.0% YOY และหากหักทองคำ การส่งออกหดตัวถึง -9.8%YOY สำหรับในช่วง 8 เดือนของปี 2019 มูลค่าการส่งออก (หักมูลค่าการส่งกลับอาวุธในเดือนกุมภาพันธ์) หดตัวที่ -3.3%YOY และหากหักทองคำจะหดตัวที่ -5.3%YOY สินค้าส่งออกสำคัญที่หดตัวได้แก่ รถยนต์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-12.6%YOY) ข้าว (-44.7%YOY) เครื่องคอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-10.5%YOY) เครื่องใช้ไฟฟ้า (-6.9%YOY) แผงวงจรไฟฟ้า (-14.3%YOY) และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป (-40.0%YOY) เม็ดพลาสติก (-18.3%YOY) และเคมีภัณฑ์ (-22.2%YOY)

ตัวเลขการนำเข้าหดตัวที่ -14.6% เป็นการหดตัวในทุกหมวดสินค้า โดยการหดตัวในระดับสูง ส่วนหนี่งเกิดจากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้า โดยสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีการหดตัวมากที่สุดที่ -27.7%YOY ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนหดตัวรองลงมาที่ -7.9%YOY

กรอบการลงทุน

ดัชนี SET ณ สิ้นวันศุกร์ อยู่ที่ระดับ 1636.20 จุด ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1661.96 จุด ยังไม่สามารถทะลุกรอบ 1,677 จุด  ปรับตัวลดลงทะลุกรอบแนวรับที่ 1640-1650 จุด โดยหลุดกรอบแนวรับไปเล็กน้อย

ในวันศุกร์ที่ 20 ก.ย. เงินลงทุนสุทธิใน SET50 future สูงถึง13,660 สัญญา ในขณะที่ต่างชาติขายสุทธิพันธบัตรไทยต่อเนื่อง 4 วันรวมมูลค่าสุทธิ -14,673 ล้านบาท

แนวต้านระยะสั้น คือ 1750,1716,1677,1650  แนวรับระยะสั้นคือ 1600, 1570 (กรอบ Correction)

ในระยะกลาง แนวรับสำคัญมากคือ 1570+-10, และแนวต้านที่ 1770

-------

(Icons made by Freepik from www.flaticon.com)


Share this article: