Web
                        Analytics
สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 29/10/2019

สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 29/10/2019

30 Oct 2019   |    833


Global Economy

[Trade war US-EU] มาตรการภาษีที่สหรัฐได้รับอนุมัติจากองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ให้เก็บจากอียูได้ มีผลบังคับใช้หลังเที่ยงคืนวันศุกร์ (18 ต.ค.) สหรัฐเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรป (อียู) มูลค่ามากเป็นประวัติการณ์ 7.5 พันล้านดอลลาร์ สินค้าที่โดนเก็บภาษีคือเครื่องบินพลเรือนจากอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตแอร์บัส ต้องถูกสหรัฐเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 10% รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการเช่น ไวน์ เป็นต้น

[Brexit] สหภาพยุโรป (อียู) ตกลงขยายเส้นตายที่อังกฤษจะออกจากการเป็นสมาชิกอียู หรือ "เบร็กซิท" ออกไปอีก 3 เดือน โดยให้ยืดหยุ่นได้จนถึงวันที่ 31 ม.ค. 63
การประกาศผลประกอบการของบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐส่วนใหญ่ค่อนข้างดี ส่งผลให้ดัชนี S&P สามารถปรับขึ้นทะลุกรอบแนวต้านที่ 3000 จุดได้

Thailand Economy

มาตรการกิจกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนจากเดิม 2% เหลือ 0.01% และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% เฉพาะการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ไปจนถึง 24 ธันวาคม 2563 และธอส. ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ 2.5% คงที่ 3 ปี สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จพร้อมอยู่ ณ เดือน ต.ค. 62 ที่ระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มีอยู่ประมาณ 34,731 หน่วย คิดเป็น 57% ของที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จทั้งหมด และคาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในปี 2563 อีกประมาณ 145,269 หน่วย จึงมีที่อยู่อาศัยรวมกว่า 180,000 หน่วย

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ชิมช้อปใช้ เฟส 2 เริ่มลงทะเบียน 24 ต.ค. 62 และสิ้นสุดการใช้ 31 ธ.ค. 62 รับลงทะเบียนเพิ่มเติมรวม 3 ล้านคน โดยให้เป็นการแจกเงิน 1,000 บาทและ cashback 15% สำหรับยอดใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาท และ cashback 20% สำหรับยอดใช้จ่ายส่วนเกิน 30,000 บาทแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ผ่าน G-wallet

สหรัฐตัดสิทธิ GSP (Generalized System of Preference) สำหรับสินค้าไทย 573 รายการ มูลค่า 3.92 หมื่นล้านบาท (1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ​หรือคิดเป็น 40% จากจำนวนสินค้าที่ไทยใช้สิทธิในปี 61 จำนวนรวม 1,485 รายการและมีการคืนสิทธิให้ไทย 7 รายการ ประมาณการกระทบการส่งออกไทย 0.01% ของการส่งออกรวมทั้งหมด หรือลดลงมูลค่า 28.8 – 32.8 ล้านดอลลาร์ และจะโดนตัดสิทธิในปี 63

กรอบการลงทุน

ดัชนี SET ณ สิ้นวันศุกร์ อยู่ที่ระดับ 1593.28 จุด จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1631.43 จุด ปรับตัว -2.34% หลุดกรอบแนวรับสำคัญที่ 1600

แนวต้านระยะสั้น คือ 1750, 1716, 1677, 1650, 1600 แนวรับระยะสั้นคือ 1570 (กรอบ Correction)

ในระยะกลาง แนวรับสำคัญมากคือ 1570+-10, และแนวต้านที่ 1770

ปัจจัยที่หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยในระยะสั่นคือ การปรับตัวของหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่นำตลาดและพยุงตลาดไว้ จึงแนะนำให้สังเกตการเคลื่อนไหวของหุ้นกลุ่มนี้เป็นหลักในช่วงที่มีการกลับตัวของกลุ่ม อาจนำไปสู่ Major correction ของดัชนีได้ หากไม่มีกลึ่มอุตสาหกรรมอื่นที่เข้ามาหนุนเพิ่มเติม

ประเมินตลาด sideway ในกรอบกว้าง เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมทั่วโลกส่งสัญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน แต่ชดเชยด้วยรัฐบาลไทยมีมาตรการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อชะลอการถดถอยของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องระมัดระวังปัจจัยความเสี่ยง crisis ที่อาจพัฒนาขึ้นได้ โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจมีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น


Share this article: