Web
                        Analytics
วางแผนเกษียณอายุยังไง ในเมื่อเศรษฐกิจโลกเป็นแบบนี้

วางแผนเกษียณอายุยังไง ในเมื่อเศรษฐกิจโลกเป็นแบบนี้

04 Jun 2020   |    1680


วางแผนเกษียณอายุยังไง ในเมื่อเศรษฐกิจโลกเป็นแบบนี้

ประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องการวางแผนเกษียณอายุ พบว่าผู้สูงวัยในไทย ยังต้องหารายได้เองและต้องพึ่งพารายได้จากผู้อื่น และคนในวัยทำงานที่ก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะวางแผนเกษียณ เนื่องจากมองว่ายังห่างไกลจากวัยนั้น หรือมีค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่แล้ว จนไม่สามารถแบ่งเงินไปเก็บออมลงทุนได้

วันนี้มามองข้ามการตกต่ำของเศรษฐกิจโลก ตั้งต้นวางแผนเกษียณอายุกันตั้งแต่อายุน้อย ๆ กันดีกว่า

เริ่มวางแผนเกษียณเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

หลายคนประมาทและมองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะวางแผนเกษียณ บ้างก็อ้างว่ายังมีแรง ยังมีเวลา ที่คิดแบบนั้นเพราะไม่รู้ว่าการเริ่มต้นวางแผนเกษียณยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่จะยิ่งดี เพราะการเริ่มออมตั้งแต่อายุน้อย ๆ จำนวนเงินออมต่อเดือนจะน้อยกว่าการเริ่มออมเมื่ออายุเยอะ นั่นหมายความว่าเหนื่อยน้อยกว่านั่นเอง และสำหรับคนที่ไม่ให้ความสำคัญกับการเกษียณเลย เพราะพวกเขาไม่รู้ว่ายิ่งอายุมากขึ้น ฮอร์โมนในการอยากทำงานจะน้อยลง การที่พวกเขาต้องทำงานเลี้ยงตัวเองตลอดชีวิต เป็นการกระทำที่ฝืนใจตัวเองตอนแก่อย่างมาก

กำหนดวงเงินที่จะใช้ตอนเกษียณ

เมื่อตัดสินใจที่จะวางแผนเกษียณแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือการกำหนดว่าจะเกษียณตอนอายุเท่าไหร่ และต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณต่อเดือนเท่าไหร่ โดยการประมาณการว่าแต่ละเดือนต้องมีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้อะไรบ้าง เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่

ตัวอย่างการคำนวณวงเงิน

กำหนดเกษียณอายุตอน 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ไปถึงอายุ 85 ปี แสดงว่ามีจำนวนปีเกษียณ 85-60 = 25 ปี โดยประมาณการใช้เงินต่อเดือนตอนเกษียณไว้เดือนละ 25,000 บาท จะได้วงเงินเกษียณ (25X12)X25,000 = 7,500,000 บาท (ไม่รวมเงินเฟ้อ)

เลือกเครื่องมือทางการเงิน

เมื่อได้วงเงินสำหรับเกษียณแล้ว ต่อไปก็ต้องหาเครื่องมือที่จะทำให้ได้เงินดังกล่าวมาก่อนกำหนดอายุเกษียณ 60 ปี สมมติว่า ตอนนี้อายุ 35 ปี จะมีเวลาในการหาวงเงินเกษียณเป็นเวลา 60-35 = 25 ปี ซึ่งหากจะออมเงินเพียงอย่างเดียวจะประมาณได้ว่า ต้องหาเงินเข้าแผนเกษียณ 7,500,000/25 = 300,000 บาท ต่อปี หรือ 25,000 ต่อเดือน (ไม่รวมเงินเฟ้อ)

แต่หากเลือกเครื่องมือทางการเงินอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ หุ้น สหกรณ์ ประกันออมทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก็จะออมเงินน้อยลง แต่ทั้งนี้การลงทุนในเครื่องมือที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ย่อมมีความเสี่ยงมากกว่า จึงจำเป็นที่จะต้องหาความรู้สำหรับการเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินแต่ละอย่างด้วย

การเก็บเงินเพื่อเกษียณมีเป้าหมายเพื่อให้มีเงินใช้หลังเกษียณ ดังนั้นสิ่งสำคัญมากคือการลดความเสี่ยงโดยการกระจายความเสี่ยง ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้คือเงินไม่พอเกษียณกับไม่มีวงเงินเกษียณ การลงทุนจึงควรกระจายไปหลายเครื่องมือ

เมื่อได้วางแผนเกษียณแล้ว อย่าให้เป็นเพียงแผนที่วางอยู่บนกระดาษเท่านั้น ต้องรีบลงมือทำตามแผนเกษียณด้วยอย่างเคร่งครัด บอกได้เลยว่าเมื่อไหร่ที่เริ่มมีเงินเก็บ ชีวิตของทุกคนจะเปลี่ยนไป จิตใจจะมั่นคง เพราะไม่ต้องทนเหนื่อยทำงานเลี้ยงตัวเองตอนแก่ และไม่ต้องเอาใจลูกหลานเพื่อหวังพึ่งพาลูกหลานในอนาคต

วางแผนการลงทุนกับ AI ของ Deepscope คลิ๊กเพื่อลงทะเบียนรับรายละเอียดเพิ่มเติม :
https://deepscope.com/questionnaire/


Share this article: