Web
                        Analytics
เตรียมตัวรับมือวิกฤตเศรษฐกิจ ด้วยการจัดการความเสี่ยงของตัวคุณเอง

เตรียมตัวรับมือวิกฤตเศรษฐกิจ ด้วยการจัดการความเสี่ยงของตัวคุณเอง

13 Jan 2020   |    1147


วัฏจักรของเศรษฐกิจก็เหมือนกับวงจรชีวิตของคน คือมีช่วงขาขึ้น รุ่งโรจน์ และขาลง เมื่อไหร่ที่เศรษฐกิจขาลง นั่นหมายถึงวิกฤตเศรษฐกิจกำลังจะมาเยือน ตอนนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน ที่ทุกคนรับรู้กันได้ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะเข้าภาวะซบเซา เป็นช่วงขาลงอีกครั้งในรอบหลายปี ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ใหญ่ด้วยภาวะหลายสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนเชื่อกันว่า ณ ตอนนี้ยังไม่มีกลไกใด ที่สามารถหยุดยั้งวิกฤตครั้งนี้ได้ ซึ่งเมื่อถึงวันนั้น เราทำได้เพียงแต่เตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ให้ผ่านไปได้

ประเทศไทยเคยประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2540 เรียกกันว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง ผลของวิกฤตครั้งนั้นกระทบกับภาคเอกชนหรือคนระดับบนเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่คาดการณ์กันว่าหากเกิดวิกฤตคราวนี้จะกระทบกับคนทุกระดับ จึงทำให้เกิดความเสียหายที่เยอะกว่าแน่นอน

.

ลดรายจ่าย

การเตรียมตัวรับมือวิกฤตเศรษฐกิจนั้นจะมีหลักว่า ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ คือให้ลดรายจ่ายให้เหลือน้อยที่สุดและเพิ่มรายได้ให้มากที่สุด เริ่มต้นจากการจดบันทึกบัญชีรายรับรายจ่าย และดูว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอะไรบ้าง มีรายการไหนที่สามารถลดได้บ้าง ซึ่งหากเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรืออะไรที่ไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ตัดออกไปเลย เช่น ค่าปาร์ตี้สังสรรค์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ ค่าอาหารนอกบ้าน ค่าท่องเที่ยว ค่าแต่งรถ เป็นต้น หรือบางรายการก็ลดลงได้ก็ลด เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมันรถ ก็เลือกที่จะใช้อย่างประหยัด

ส่วนค่าใช้จ่ายที่เป็นหนี้ระยะยาวเป็นต้นว่า ค่างวดรถ ค่างวดบ้าน ค่าประกันชีวิต ควรวางแผนดี ๆ ตั้งแต่เริ่มสร้างหนี้ ควรโปะลดต้นให้เยอะจะช่วยให้สบายขึ้นในยามวิกฤต แต่หากค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ปลดหนี้ไปได้ควรจะจะปิดหนี้ไปเลย เพื่อที่จะทำให้เหลือเงินในส่วนของรายได้เพิ่มมากขึ้น

.

เพิ่มรายได้

หากเราลดค่าใช้จ่ายลง ก็จะมีส่วนของรายได้มากขึ้น หมายถึงว่าจะมีเงินส่วนที่เป็นเงินเก็บมากขึ้นด้วย เงินส่วนนี้ควรแบ่งเก็บไว้เป็นเงินสดด้วย เพราะยามวิกฤตการมีเงินสดในมือย่อมดีกว่ามีเงินในหุ้น กองทุน หรือธนาคาร เพราะเงินสดมีสภาพคล่องสูงกว่า หรือถ้าคิดว่ามีเงินสดเพียงพอแล้ว อยากลงทุนให้มีกำไร ก็ควรเลือกเครื่องมือที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวม เงินฝากประจำระยะยาว ประกันชีวิต เป็นต้น ที่สำคัญไม่ควรลงทุนเกินตัว

นอกจากลดค่าใช้จ่ายแล้ว ควรจะหาทางเพิ่มรายได้ไปด้วย เพื่อให้มีเงินเหลือมากขึ้น โดยการหาอาชีพเสริม เช่นงานออนไลน์ หรืองานอื่น ๆ นอกเวลางานประจำ การมีรายได้หลายทางลดความเสี่ยงให้ได้หากเกิดการเลิกจ้างงาน เป็นต้นว่า ปลูกผักเลี้ยงสัตว์เอง เป็นงานที่ช่วยทั้งลดรายจ่าย เพราะจะได้ผักมาทำอาหาร และเพิ่มรายได้ ผักที่เหลือขายได้ ทั้งยังช่วยลดความเครียดในสภาวะวิกฤตเช่นนี้ เป็นอาชีพเสริมที่เป็นธรรมชาติบำบัดป้องกันโรคเครียดได้เป็นอย่างดี

ไม่ว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นจริงตามการคาดการณ์หรือไม่ การเตรียมตัวเองให้พร้อมเสมอเป็นการตั้งตนอยู่บนความไม่ประมาท ป้องกันไว้ย่อมดีกว่ามาตามแก้ทีหลังแน่นอน

.

วางแผนการเงินกับ Deepscope

ก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่สนใจรับคำปรึกษาด้านการลงทุนอย่างมีคุณภาพ หรือต้องการสอบถามเรื่องกองทุน ท่านสามารถเข้ามาลงทะเบียนกับทาง Deepscope เพื่อรับรายละเอียดทั้งหมดได้ตามลิงก์ด้านล่าง ทีมงานผู้เชี่ยวชาญจะติดต่อส่งข้อมูลให้ทันที:

https://deepscope.com/questionnaire/

.


Icons made by Freepik from www.flaticon.com


Share this article: